วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Slide Show! จิตรกรรมฝาผนัง

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

กฎแห่งสุนทรียะหรือหลักทางสุนทรียภาพ

กฎแห่งสุนทรียะหรือหลักทางสุนทรียภาพ ประกอบไปด้วย
1. ความมีระเบียบ (Order)
2. ความประสานกลมกลืน (Harmony)
3. ความงาม (Beauty)
งานทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับมวลมนุษย์
1. งานจิตรกรรม (Painting or Pictorial Art) คือ กรรมวิธีของการนำสีชนิดต่าง ๆ มาระบายหรือเขียนลงบนแผ่นราบ ให้บังเกิดเป็นภาพความหมายและมีความงามตามต้องการ
2. งานวาดเส้น (Drawing) คือ การเขียนเป็นลายเส้นหรืออาจมีการระบายแสงและเงาสร้างลักษณะของผิวเพียงสีเดียว
3. ศิลปะภาพพิมพ์ (Graphic Art) หมายถึง การสร้างรูปหรือเครื่องหมายลงบนวัสดุผิวราบใด ๆ ด้วยวิธีการกดหรือประทับจากแม่พิมพ์ เป็นงานที่มีลักษณะ 2 มิติ งานโฆษณาและ Graphic Design ถือว่าเป็นศิลปะภาพพิมพ์
4. ประติมากรรม (Sculpture) คือ การปั้น (เป็นกรรมวิธีก่อขึ้น เพิ่มขึ้น) และการแกะสลัก (เป็นกรรมวิธีของการลด สกัด ตัด หรือเฉือนออก) ให้เป็นรูปทรงในลักษณะสามมิติ เช่น "ดาวเพดาน" ซึ่งอยู่ภายในอาคาร พุทธศาสนาได้ใช้สัญลักษณ์เป็นดอกบัวกันมาตั้งแต่สมัยโบราณอันหมายถึง "จักรวาล" ก่อนที่จะกลายเป็นสัญลักษณ์ของพุทธิปัญญาในภายหลัง
5. สถาปัตยกรรม (Architecture) หมายถึง ศิลปะที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ใช้สอย เป็นรูปทรง กินเนื้อที่ มีปริมาตร เช่น ปิรามิดของชาวอียิปต์สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอย เพราะชาวอียิปต์เชื่อว่าเมื่อคนตายไปแล้ววิญญาณจะกลับมาเกิดอีก เขาจึงได้สร้างปิรามิดไว้สำหรับเก็บศพที่เรียกว่า "มัมมี่" ภายในปิรามิดสร้างไว้เพื่อให้วิญญาณได้ฟื้นกลับมาในรูปร่างเดิมและดำเนินชีวิตอย่างสุขสบาย
6. มัณฑนศิลป์ (Decorative Art) มีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ใช้สอยและความสุขทางใจเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลา เช่น การออกแบบ การตกแต่งภายใน เป็นต้น

ความซาบซึ้งในความงามของศิลปะ
ความรู้สึกซาบซึ้งในสุนทรียภาพหรือความงาม จะบังเกิดผลสมความปรารถนาหรือไม่เพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับการใฝ่หาความรู้ในศิลปะ ตลอดจนการพัฒนารสนิยมของแต่ละบุคคล ความซาบซึ้งในความงามของศิลปะมี 2 ประการ คือ
1. ความซาบซึ้งทางอารมณ์ เป็นความรู้สึกบนพื้นฐานแห่งความชื่นชมยินดี และความพึง-พอใจที่ได้รับจากการสัมผัสกับความงามในองค์ประกอบของเส้น สี แสง เงา รูปทรง ท่าทาง ถ้อยคำสำนวนและอื่น ๆ อันเป็นความรู้สึกประทับใจหรือสะเทือนใจ
2. ความซาบซึ้งทางพุทธิปัญญา เป็นความรู้สึกในขั้นต่อมาจากการมีความเข้าใจในหลักของความงามทางสุนทรียภาพหรือความงามของงานศิลปะ รู้ถึงองค์ประกอบของงานศิลปะและวิวัฒนาการของศิลปะ ซึ่งเกิดจากความคิดสร้างสรรค์อันไม่สิ้นสุดของมนุษย์ เป็นการเสริมสร้างรสนิยมทางศิลปะของมวลชนในชาติให้มีระดับสูงขึ้น

ขอบข่ายในการเรียนศิลปะโดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงศิลปะย่อมหมายถึง วิจิตรศิลป์ (Fine Art) และศิลปะประยุกต์ (Applied Art)
1. วิจิตรศิลป์ (Fine Art) หรือศิลปะบริสุทธิ์ (Pure
Art) หมายถึง ภาพพิมพ์ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณศิลป์ และดุริยางคศิลป์
(คีตศิลป์) ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจของธรรมชาติ จนส่งเสริมให้ศิลปินเกิดความคิดสร้างสรรค์ในงานศิลปะ
มีจุดมุ่งหมายคือส่งเสริมจิตใจและปัญญาความคิดของมนุษย์ ถือเป็นศิลปะชั้นสูง
- วิจิตรศิลป์ เป็นเรื่องของความสัมพันธ์อันประณีตของเส้นและมวลสิ่งหรือสี
- สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และภาพพิมพ์ เรียกว่า ศิลปะกินระวางเนื้อที่ (Space Art) ซึ่งเป็นศิลปะที่มองเห็น จึงถูกเรียกว่า ทัศนศิลป์ (Visual Art) เพราะจำกัดระวางเนื้อที่ส่วนใดส่วนหนึ่งในอากาศด้วยปริมาตรของศิลปะเท่านั้น ซึ่งคุณสมบัติที่แท้จริงของศิลปะที่มองเห็น ไม่ได้อยู่ที่วัสดุแต่อยู่ที่จิตใจ
2. ศิลปะประยุกต์ (Applied Art) เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกายหรือเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เครื่องประดับ เครื่องใช้สอยต่าง ๆ เสื้อผ้า เป็นต้น ซึ่งศิลปะประยุกต์อาจแยกย่อยออกเป็น
- มัณฑนศิลป์ (Decorative Art) ได้แก่ การออกแบบและการตกแต่งภายใน
- พาณิชยศิลป์ (Commercial Art) ได้แก่ ศิลปะที่ทำขึ้นเพื่อการค้าขาย อาจออกมาในรูปแบบของการโฆษณา หรือการประดิษฐ์สิ่งของขึ้นมาเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
- อุตสาหกรรมศิลป์ (Industrial Art) ได้แก่ การผลิตจำนวนมากเพื่อใช้ในอุตสาห-กรรม

คุณค่าของศิลปะ
1. ศิลปะมีส่วนช่วยเสริมสร้างจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีต่อกัน ทั้งนี้เพราะศิลปะมีขึ้นเพื่อสนองความต้องการทางอารมณ์และจิตใจ ในขณะเดียวกันก็เสริมสร้างสติปัญญาด้วย
2. ศิลปะมีความสำคัญต่อการแสดงออกถึงความเจริญทางวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละยุค
3. ศิลปะช่วยให้ชีวิตมีความสุขราบรื่น เพราะความเข้าใจในศิลปะช่วยสร้างให้เกิดความเข้าใจกัน
4. ช่วยเสริมสร้างความงามของสิ่งแวดล้อมในสังคมและความเป็นระเบียบของบ้านเมือง
5. เด็กที่ได้คุ้นเคยต่อการพบเห็นสิ่งประณีตสวยงามตั้งแต่วัยเยาว์ จะช่วยให้เด็กมีความคิดอ่านประณีต สุขุม เป็นคนดีของสังคม และประพฤติปฏิบัติไปตามกฎแห่งศีลธรรม
ศิลปะมีความเป็นกลางหรือเป็นสากล เป็นสมบัติอันน่าภาคภูมิใจของมวลชนทั่วโลก ศิลปะจึงเป็นที่รวมของจิตใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และให้ก้าวไปสู่ความดีงามด้วยกัน

จิตรกรรม


จิตรกรรม ( Painting) เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส 1997เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบน ไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้ เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้ ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ กัน
องค์ประกอบสำคัญของงานจิตรกรรม คือ
1. ผู้สร้างงาน หรือ ผู้วาด เรียกว่า จิตรกร
2. วัสดุที่ใช้รองรับการวาด เช่น กระดาษ ผ้า ผนัง ฯลฯ
3. สี เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน
งานจิตรกรรมเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ดั้งเดิมของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การขีดเขียนบนผนังถ้ำ บนร่างกาย บนภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ จนพัฒนามาเป็นภาพวาดที่ใช้ประดับตกแต่งในปัจจุบัน การวาดภาพเป็นพื้นฐานของงานศิลปะทุกชนิด ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรียนว่า จิตรกร(Painter)
งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
1. การวาดเส้น (Drawing) เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ ขีดเขียนลงไป แปลก กิจเฟื่องฟู 2539บนพิ้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก หรือเส้นใหญ่ ๆ มักมีสีเดียวแต การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจมีสีหลาย ๆ สีก็ได้ การวาดเส้น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด อย่างน้อย ผู้ฝึกฝนงานศิลปะควรได้มีการฝึผนงานวาดเส้นให้เชี่ยวชาญเสียก่อน ก่อนที่จะไปทำงานด้านอื่น ๆ ต่อไป


2. การระบายสี (Painting) เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอื่น มาระบายให้เกิดเป็นภาพ การระบายสี ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่าการวาด เส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น
ลักษณะของภาพจิตรกรรม
งานจิตรกรรม ที่นิยมสร้างสรรค์ ขึ้นมีหลายลักษณะ ดังนี้ คือ
1. ภาพหุ่นนิ่ง (Sill life) เป็นภาพวาดเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ หรือ วัสดุต่าง ๆ ที่ไม่มีการ เคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่อยู่กับที่

Cezanne

2. ภาพคนทั่วไป แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
2.1 ภาพคน (Figure) เป็นภาพที่แสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยไม่เน้นแสดงความ เหมือนของใบหน้า
2.2 ภาพคนเหมือน (Potrait) เป็นภาพที่แสดงความเหมือนของใบหน้า ของคน ๆ ใดคนหนึ่ง

van gogh

3. ภาพสัตว์ ( Animals Figure) แสดงกิริยาท่าทางของสัตว์ทั้งหลาย ในลักษณะต่าง ๆ
4. ภาพทิวทัศน์ (Landscape) เป็นภาพที่แสดงความงาม หรือความประทับใจในความงาม ของ ธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม ของศิลปินผู้วาด ภาพทิวทัศน์ยังแบ่งเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้อีก คือ
4.1 ภาพทิวทัศน์ผืนน้ำ หรือ ทะเล (Seascape )
4.2 ภาพทิวทัศน์พื้นดิน (Landscape)
4.3 ภาพทิวทัศน์ของชุมชนหรือเมือง (Cityscape)

Klimt, Gustav

5. ภาพประกอบเรื่อง (Illustration) เป็นภาพที่เขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือถ่ายทอดเหตุการณ์ ต่าง ๆ ให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาจเป็นทั้งภาพประกอบเรื่องในหนังสือ พระคัมภีร์ หรือภาพเขียนบนฝาผนัง อาคาร สถาปัตยกรรมต่าง ๆ และรวมถึงภาพโฆษณาต่าง ๆ ด้วย
6. ภาพองค์ประกอบ (Composition) เป็นภาพที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของศิลปะ และ ลักษณะในการจัดองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง โดยที่อาจไม่เน้น แสดงเนื้อหาเรื่องราวของภาพ หรือ แสดงเรื่องราวที่มาจากความประทับใจ โดยไม่ยึดติดกับความเป็นจริง ตามธรรมชาตินาๆ ชนิดนี้ ปรากฏมากในงานจิตรกรรมสมัยใหม่

Picasso

7. ภาพลวดลายตกแต่ง (Decorative painting) เป็นภาพวาดลวดลายประกอบเพื่อตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้ เกิดความสวยงามมากขึ้น เช่น การวาดลวดลายประดับอาคาร สิ่งของเครื่องใช้ ลวดลายสัก ฯลฯ

PanKun Slide Show!

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

จิตรกรรมฝาผนัง


จิตรกรรมฝาผนังเรื่องสามก๊ก

วัดประเสริฐสุทธาวาส


จารึกบนแผ่นหินซึ่งฝังติดกับผนังด้านทิศตะวันตก ภายในโบสถ์อ่านได้ว่า ในปี พ.ศ. 2381 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 พระประเสริฐวานิชได้บริจาคเงินซ่อมแซมทั้งพระอาราม สันนิษฐานว่าพระประเสริฐวานิชผู้นี้น่าจะเป็นคนเดียวกับเจ้าสัวเส็ง เศรษฐบุตร แต่จากหลักฐานศิลปวัตถุที่พบในวัด ได้แก่ ใบเสมา พระประธานในวิหาร และพระประธานในพระอุโบสถ ระบุว่าวัดนี้มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่สมัยก่อนอยุธยาสิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้คือภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วาดอยู่เหนือกรอบประตูหน้าต่างโดยรอบทั้งสี่ทิศ เป็นภาพเขียนลายเส้นสีดำ แบ่งเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ เขียนเป็นเรื่องสามก๊ก แต่ละช่องมีภาษาจีนกำกับ ตามคติการเขียนภาพแบบจีน ตัวภาพอยู่ในสภาพค่อนข้างดี ลายเส้นยังคมชัด จะมีก็แต่บริเวณใกล้กรอบประตูหน้าต่างที่ภาพลบเลือนไปบ้าง



จิตรกรรมที่บานประตูและหน้าต่าง

พระวิหารวัดโสมนัสวรวิหาร

ภาพที่ประตูและหน้าต่างนั้นแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ด้านนอกและด้านใน เฉพาะด้านนอกทั้งที่ประตูและที่หน้าต่างทุกบาน เป็นภาพสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ ทุกช่องและทุกบาน ซึ่งเรียงลำดับจากบนสุดลงมาด้านล่างตามลำดับ ดังนี้ ๑. จักรแก้ว ๒. ช้างแก้ว ๓. ม้าแก้ว ๔. แก้วมณี ๕. นางแก้ว ๖. ขุนคลังแก้ว ๗. ขุนพลแก้ว แต่ภาพที่ประตูใหญ่กว่าภาพที่หน้าต่าง แม้ที่ประตูและหน้าต่างพระอุโบสถด้านนอก ก็มีภาพสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิเช่นกัน การที่มีสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ประการนั้น สันนิษฐานว่า ภาพเหล่านี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า การที่พระเจ้าจักรพรรดิจะได้สมบัติทั้ง ๗ ประการนี้ ก็ด้วยการประพฤติธรรมคือจักกวัตติวัตร มีการปกครองประเทศโดยธรรม เป็นต้น แม้คนทั่วไปก็เช่นกัน ถ้าจะให้สมบัติเกิดขึ้นแก่ตนก็ต้องประพฤติธรรม ไม่ว่าจะเป็นมนุษยสมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ บุคคลจะได้รับก็ด้วยการประพฤติธรรมทั้งสิ้น



จิตรกรรมวัดเทพนิมิตร

วัดเทพนิมิตร ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ชื่อเดิมวัดบ้านกลางจิตรกรรมฝาผนังวัดเทพนิมิตรอยู่ที่ฝาผนังด้านในอุโบสถทั้ง 4 ด้านจิตรกรรมวัดเทพนิมิตร เป็นจิตรกรรมพื้นบ้าน เขียนด้วยสีฝุ่นเป็นเรื่องราวพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

อาจารย์ผู้สอนวิชาสุนทรียศาสตร์


อาจารย์วิวรรธน์ จันทร์เทพ