วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

จิตรกรรมฝาผนัง


จิตรกรรมฝาผนังเรื่องสามก๊ก

วัดประเสริฐสุทธาวาส


จารึกบนแผ่นหินซึ่งฝังติดกับผนังด้านทิศตะวันตก ภายในโบสถ์อ่านได้ว่า ในปี พ.ศ. 2381 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 พระประเสริฐวานิชได้บริจาคเงินซ่อมแซมทั้งพระอาราม สันนิษฐานว่าพระประเสริฐวานิชผู้นี้น่าจะเป็นคนเดียวกับเจ้าสัวเส็ง เศรษฐบุตร แต่จากหลักฐานศิลปวัตถุที่พบในวัด ได้แก่ ใบเสมา พระประธานในวิหาร และพระประธานในพระอุโบสถ ระบุว่าวัดนี้มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่สมัยก่อนอยุธยาสิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้คือภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วาดอยู่เหนือกรอบประตูหน้าต่างโดยรอบทั้งสี่ทิศ เป็นภาพเขียนลายเส้นสีดำ แบ่งเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ เขียนเป็นเรื่องสามก๊ก แต่ละช่องมีภาษาจีนกำกับ ตามคติการเขียนภาพแบบจีน ตัวภาพอยู่ในสภาพค่อนข้างดี ลายเส้นยังคมชัด จะมีก็แต่บริเวณใกล้กรอบประตูหน้าต่างที่ภาพลบเลือนไปบ้าง



จิตรกรรมที่บานประตูและหน้าต่าง

พระวิหารวัดโสมนัสวรวิหาร

ภาพที่ประตูและหน้าต่างนั้นแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ด้านนอกและด้านใน เฉพาะด้านนอกทั้งที่ประตูและที่หน้าต่างทุกบาน เป็นภาพสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ ทุกช่องและทุกบาน ซึ่งเรียงลำดับจากบนสุดลงมาด้านล่างตามลำดับ ดังนี้ ๑. จักรแก้ว ๒. ช้างแก้ว ๓. ม้าแก้ว ๔. แก้วมณี ๕. นางแก้ว ๖. ขุนคลังแก้ว ๗. ขุนพลแก้ว แต่ภาพที่ประตูใหญ่กว่าภาพที่หน้าต่าง แม้ที่ประตูและหน้าต่างพระอุโบสถด้านนอก ก็มีภาพสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิเช่นกัน การที่มีสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ประการนั้น สันนิษฐานว่า ภาพเหล่านี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า การที่พระเจ้าจักรพรรดิจะได้สมบัติทั้ง ๗ ประการนี้ ก็ด้วยการประพฤติธรรมคือจักกวัตติวัตร มีการปกครองประเทศโดยธรรม เป็นต้น แม้คนทั่วไปก็เช่นกัน ถ้าจะให้สมบัติเกิดขึ้นแก่ตนก็ต้องประพฤติธรรม ไม่ว่าจะเป็นมนุษยสมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ บุคคลจะได้รับก็ด้วยการประพฤติธรรมทั้งสิ้น



จิตรกรรมวัดเทพนิมิตร

วัดเทพนิมิตร ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ชื่อเดิมวัดบ้านกลางจิตรกรรมฝาผนังวัดเทพนิมิตรอยู่ที่ฝาผนังด้านในอุโบสถทั้ง 4 ด้านจิตรกรรมวัดเทพนิมิตร เป็นจิตรกรรมพื้นบ้าน เขียนด้วยสีฝุ่นเป็นเรื่องราวพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า